ภูมิปัญญานักอ่าน

ช่วงนี้เห็นข่าวนิตยสารปิดตัวกันไปหลายปก ทำให้เกิดความคิดขึ้นมาเหมือนกันนะว่า “ทำไม” ถึงอยู่ไม่ได้ ทั้งๆที่เปิดมาเจอแต่โฆษณาค่อนเล่ม (แหงล่ะ เผลอๆรายได้หลักเขาหนิ) รูปถ่ายนิด บทความหน่อย จะเรื่องสุขภาพความรัก ความสำเร็จอะไรก็แล้วแต่ หรือการตั้งราคาที่เกินคุณค่าไปไกล

เหตุผลที่เจอบ่อยที่สุดคือ “พฤติกรรมผู้อ่านเปลี่ยนไป” ที่เห็นได้ชัดคือพวกการ์ตูนทั้งหลาย พวกอ่านเถื่อน อ่านฟรี ได้อ่านเร็ว (ขโมยอ่าน แต่ชอบทำท่าว่าเป็นคนดี ?)

จนมาวันนี้เห็นคนบ่นเสียดายถึง “นิตยสารแฟชั่น” อีกปกนึงที่ต้องปิดตัวลง เพราะ “รัฐบาลไม่สนับสนุน”
อืม อยากรวยต้องให้คนอื่นช่วยสินะ ผลที่ “นิตยสารแฟชั่น” ปิดตัวไปนั้นเสียหายหนักหนา มีผลต่อเนื่องไปยังระบบการศึกษาและศิลปวัฒนธรรมเลยทีเดียว มองไปที่หน้าหนังสือแล้วคิดในใจ “ใช่เหรอ”

เรื่องนิตยสารศิลปวัฒนธรรมผมชอบติดตามนะ แต่เป็นของ “เมืองโบราณ” หรือ หนังสือที่ชื่อ “ศิลปวัฒนธรรม” ตรงๆตัว หากใครเคยอ่านหนังสือทั้งสองปกคงจะรู้ดีครับ ทั้งเล่มแน่นไปด้วย ประวัติศาสตร์ ข้อมูลเชิงวิชาการ หลักฐานทางโบราณคดีเน้นๆ ฟังดูน่าเบื่อและเฉพาะกลุ่มใช่มั้ยล่ะ แต่แปลกมั้ยว่าทั้งสองยังอยู่ได้ (อาจมีกินทุนไปบ้าง แต่ก็ยังคงอยู่ได้)

มาถึงชื่อตอนของโพสต์นี้ว่า “ภูมิปัญญานักอ่าน” ครับ
สมมุติคนๆนึง ชอบศึกษาประวัติศาสตร์และรักการอ่าน แนวโน้มที่ความคิดของคนๆนั้นจะเป็นแบบนึง
กับคนอีกคนนึง ที่ไม่ชอบการอ่านเอาเสียเลย รักสวยรักงาม ความคิดและความรู้ของเขาก็จะไปอีกแบบนึง
ทั้งสองแบบสองสไตล์ที่ยกตัวอย่างมานั้น ไม่ได้ว่าใครดีกว่ากันนะ
แต่คงเป็นหนังสือที่ไม่ฉลาดเลย ถ้าจะเลือกผู้อ่านแค่คนเดียว โดยเฉพาะเลือกคนหลัง ในเมื่อคุณมีผลิตภัณฑ์คือสิ่งพิมพ์ แต่เลือกคนที่ไม่ชอบการอ่าน และเตะอีกคนทิ้ง

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดก็ประมาณ แม่ค้าร้านขาหมูรณรงค์ลดความอ้วน หรือ เขียนบทความรักสุขภาพแต่สูบบุหรี่นั่นแหล่ะ

เฮ้ ลองมองไปที่นิตยสารที่ปิดตัวเป็นข่าวอึกทึกคึกโครมสิ …บันเทิง แฟชั่น เน้นๆเลยนี่หว่า (แนวอื่นก็คงมี แต่ข่าวไม่ดัง) แบบนี้เราควรภูมิใจรึเปล่า ว่าคนไทยเลิกสนใจเรื่องไร้สาระมากขึ้น … อ๊ะ ล้อเล่นน่ะ ปริมาณยากที่จะตอบ แต่คงไปใช้ทางอื่นแทนแหล่ะ

แต่ไม่ว่าเปลี่ยนไปทางไหน นักอ่านก็ยังคงเป็นนักอ่านครับ อย่างผมไม่ขอบอกว่าเป็นนักอ่านตัวยง แต่ยังไงก็ยังคงต้องซื้อหนังสือไว้อ่านครับ เพราะอ่านจากทางอื่นแล้วไม่ไหวจริงๆตามันลาย ผมเชื่อว่าคนแบบผมยังมีอีกเยอะ และไม่ได้น้อยลง เพียงแต่ทำยังไงให้คนกลุ่มนั้นเลือกที่จะติดตามนิตยสารของคุณ แนวทางคอนเทนต์ของหนังสือมันตอบอยู่แล้ว บางครั้งแม้เป็นเรื่องนอกหนังสือ แต่การกระทำการแสดงออกที่มัน “ดูถูกภูมิปัญญานักอ่าน” นั่นแหล่ะ ที่ทำให้ไปไม่รอดซะเองรึเปล่า

“นั่งนิ่งๆ แล้วยิ้มมุมปากเบาๆ”

 

ก็แค่ auto level นิดหน่อย

เรื่องของการรีวิวกล้องแล้ว “auto level” “auto contrast” นิดหน่อย
ว่าแล้วไอออโต้นั่นนี่มันคืออะไรล่ะ บลอกนี้ตอนสั้นๆครับ มาทำให้ดูว่าแค่ auto นิดหน่อยคืออะไร ผ่านโปรแกรม acdSee

รูปจากกล้อง

รูปจากกล้อง

พิมพ์ข้อความหล่อๆ ตามค่าเงินที่รับมานิดนึงอย่าง “รูปจากกล้องไม่ได้ปรับอะไร” (แต่โหมดสี vivid หรือ enhance) เพื่อให้อ่านแล้วรู้สึกเหมือนรูปจริงไม่ได้แต่ง หรือโกงสีนะเนี่ย …เอ๊ะ แต่พลาดนิดนึง รูปไก่ข้างบนนั่นมัน iAuto โล้นๆ ลืมเลือกโหมดสีสดเพื่อให้คนคิดว่าปรับแล้วจะเข้มกว่านี้ซะแล้ว

อ่ะ ไม่เป็นไร ปรับ auto level นิดนึงละกัน

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

 

auto level นิดนึง

auto level นิดนึง

นิดนึงจริงๆนะเนี่ย กดจึ๊กเดียวเอง

แหม่ เดี๋ยวนี้จะซื้อกล้องใหม่ทีนี่ดูตามหน้าเวบทำใจลำบากแฮะ  ไอ่ “นิดนึง” “เล็กๆน้อยๆ” เนี่ย “แทบ” จะทั้งนั้น

สรุปบลอกตอนนี้แค่จะบอกว่าโปรแกรมเดี๋ยวนี้ใช้ง่ายนะ จบ